องค์ประกอบของระบบสื่อสารข้อมูล
ระบบสื่อสารข้อมูลมีองค์ประกอบพื้นฐาน 5 ประการ ดังนี้ คือ
1. ผู้ส่งหรืออุปกรณ์ส่งข้อมูล(Sender)เป็นต้นทางการสื่อสาร มีหน้าที่เตรียมข้อมมูลข่าวสารเพื่อจัดส่ง2. ผู้รับหรืออุปกรณ์รับข้อมูล(Receiver)เป็นปลายทางของการสื่อสารข้อมูล มีหน้าที่รับส่งข้อมูลข่าวสารที่ผู้ส่งจัดส่งมาให้
3. สื่อกลาง(Medium)เป็นเส้นทางการสื่อสาร เพื่อนำข้อมูลจากต้นทางไปยังปลายทาง สื่อกลางการสื่อสารนี้ อาจเป็นเส้นลวดทอง แดง สายเคเบิล สายใยแก้วนำแสง หรือคลื่นต่างๆ ที่ส่งผ่านทางอากาศ เช่น คลื่นไม่โครเวฟ คลื่นวิทยุ
4.ข่าวสาร(Massage)เป็นสัญญานที่ใช้ส่งผ่านไปในสื่อกลาง แบ่งออกเป็น 4รูปแบบ ดังนี้คือ
1. เสียง
2. ข้อมูล
3. ข้อความ
4. รูปภาพ
5. โปรโตรคอล(Protocol)หมายถึงกฎระเบียบหรือข้อตกลงที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูลเพื่อให้ผู้รับและผู้ส่งสามารถเข้าใจหรือพูดคุยกันได้
ประสิทธิภาพของการสื่อสารข้อมูล
- ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพของการสื่อสารข้อมูล
1. ข่าวสาร
2. คุณลักษณะเฉพาะตัวของแต่ละองค์ประกอบของระบบสื่อสารข้อมูล
3. การรบกวน
- กฎเกณฑ์ที่ใช้ในการวัดประสิทธิภาพของการสื่อสารข้อมูล
1. การถ่ายโอน
2. ความเที่ยงตรง
3. เวลา
การพัฒนาของการสื่อสารข้อมูล
คอมพิวเตอร์ในยุคแรกมีการประมวลผูลแบบ Batch คือ มีการประมวลผลที่ศูนย์คอมพิวเตอร์ (Host) เพียงที่เดียว ข้อมูลจากหน่วยงานต่างๆ จะถูกส่งเข้ามาที่ศูนย์คอมพิวเตอร์เพื่อทำการประมวลผลโดยคน รถไฟ รถยนต์ เป็นต้น
ปีค.ศ1960เริ่มมีการต่อเครือข่ายคอมพิวเตอร์โดยใช้ระบบโทรศัพท์
ปี ค.ศ.1970 เริ่มมีการใช้ระบบ Real Time คือ การส่งข้อมูลแต่ละรายการไปยังศูนย์คอมพิวเตอร์เพื่อทำการประมวลผลเมื่อได้ผลลัพธ์ก็จะส่งกลับไปยังที่เดิมในเวลาอันรวเร็ว
ปี ค.ศ. 1975 เริ่มใช้ระบบฐานข้อมูลแบบกระจาย(Distributed Database)
ปี ค.ศ. 1980 เริ่มใช้ระบบการประมวลผลแบบกระจาย(Distributed Processing)
ประโยชน์ของการสื่อสารข้อมูล
1. การสื่อสารข้อมูลเพื่อการบริหาร และการจัดการ
2. การสื่อสารข้อมูลเพื่อการบริการ
3. การสื่อสารในด้านธุรกิจการเงิน
4. การสื่อสารข้อมูลเพื่อแลกเปลี่ยนข่าวสาร
สัญญาณ(Signal)
สัญญาณ (Signal) หมายถึงข้อมูลที่ถูกนำมาทำการเข้ารหัส (Encoding) ให้อยู่ในรูปแบบที่เหมาะสมเพื่อให้สามารถส่งผ่านไปยังสื่อกลางได้
สัญญาณที่ใช้ในการส่งผ่านสื่อกลาง แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ
- สัญญาณอนาล็อก
- สัญญาณดิจิตอล
สัญญาณอนาล็อก เป็นสัญญาณที่มีลักษณะเป็นรูปคลื่นที่ต่อเนื่อง Continuous Signal)
สัญญาณดิจิตอล เป็นสัญญาณแบบไม่ต่อเนื่อง(Discrete/Discontinuous Signal) อยู่ในรูปแบบระดับแรงดันไฟฟ้าที่เป็นรูปคลื่นสี่เหลี่ยม (Square Wave)
ช่องทางการสื่อสาร หมายถึง เส้นทางเพื่อให้ข้อมูลข่าวสารเดินทางจากจุดหนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง
ชนิดของเส้นทางการสื่อสาร(Chane Typesl )
ช่องทางการสื่อสารแบ่งออกเป็น 2 ประเภท
- ช่องาล็อก
- ช่องดิจิตอล
ช่องทางบรอดแบนด์ หมายถึง ช่องทางอนาล็อกที่สามารถส่งผ่านสัญญาณอนาล็อกได้หลายๆสัญญานในเวลาเดียว
ช่องทางเบรดแบนด์ หมายถึง ช่องทางดิจิตอลที่ใช้สำหรับสงผ่านสัญญาณดิจิตอล
แบรนด์วิดท์ หมายถึง ความจุของช่องทางการสื่อสาร หรือขีดจำกัดที่ช่องทางการสื่อสารสามารถนำข่าวสารผ่านไปได้ในช่วงเวลาที่กำหนด
การเข้ารหัส หมายถึง การแปลงข้อมูลข่าวสารให้อยู่ในรูปของสัญญานที่พร้อมจะส่งไปในช่องทางการสื่อสาร
การถอดรหัส หมายถึงการแปลงสัญญาณที่ส่งไปในช่องทางการสื่อสารให้กลับมาอยู่ในรูปของข้อมูลข่าวสารเดิม
ทิศทางของการส่งข้อมูล
1. การส่งข้อมูลแบบทางเดียว หรือซิมเพล็กซ์
2. การส่งข้อมูลแบบทิศทางใดทิศทางหนึ่ง หรือฮาร์ฟดูเพล็กซ์
3. การส่งข้อมูลแบบสองทาง หรือฟูลดูเพล็กซ์
รูปแบบการเชื่อมโยงเครือข่าย
การเชื่อมโยงเครือข่าย หมายถึง การสร้างเส้นทางการสื่อสารเพื่อส่งข้อมูลจากอุปกรณ์หนึ่งไปยังอีกอุปกรณ์หนึ่ง แบ่งออกเป็น 2 รูปแบบคือ
1 การเชื่อมโยงเครือข่ายแบบจุดต่อจุด(Point to Point)
2. การเชื่อมโยงเครือข่ายแบบหลายจุด(Multi Point) หรือการเชื่อมโยงเครือข่ายแบบแพร่กระจาย(Broadcast)
มาตรฐานที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูล
1 มาตรฐานโดยนิตินัย หรือมาตรฐานแบบเดอ จูเร
2. มาตรฐานโดยพฟตินัย หรือมาตราฐานแบบเดอ ฟัคโต
องค์กรมาตรฐาน
1. สถาบันแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา
2. องค์กรระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตฐาน
3. สหภาพความร่วมมือระหว่างประเทศว่าด้วยการโทรคมนาคม
4. สถาบันวิศวกรรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
5. สมาคมอุตสาหกรรมไฟฟ้า
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น